กระพุ้งแก้มเป็นรอยฟัน

กระพุ้งแก้มเป็นรอยฟัน

กระพุ้งแก้มเป็นรอยฟัน เกิดจากการที่เรากัดหรือดูดกระพุ้งแก้ม และการกัดหรือดูดกระพุ้งแก้มอาจจะทำให้เกิดแผลในช่องปากได้ และหากเรามีแผลในช่องปากก็จะทำให้เราเป็นโรคในช่องปากได้ ซึ่งโรคในช่องปากมีลักษณะอาการและความรุนแรงแตกต่างกันไป บางชนิดเป็นไม่นานก็หายไปเอง บางชนิดจะเป็นแบบเป็น ๆ หาย ๆ เกิดซ้ำใหม่บ่อย ๆ หรืออาจจะเป็นแบบแผลเรื้อรังมีอาการเจ็บมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสาเหตุของการเกิดโรค และวันนี้เราจะมาพูดถึงโรคแผลในช่องปากว่ามีอะไรบ้าง เป็นแล้วมีวิธีการรักษาอย่างไร เพื่อให้คุณได้รู้ถึงโรคแผลในช่องปาก หากเป็นจะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที พร้อมแล้วเราไปดูกันเลยค่ะ

อะไรคือสาเหตุของการเกิดแผลในปาก

  • การบาดเจ็บในช่องปากอันได้แก่ การแปรงฟันแรงเกินไป การกัดปากโดยไม่ได้ตั้งใจ
  • การใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของสารโซเดียมลอริลซัลเฟต
  • ขาดวิตามินที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเช่น วิตามินบี 12 สังกะสี กรดโฟเลต และธาตุเหล็ก เป็นต้น
  • รับประทานอาหารบางชนิดที่ไปทำร้ายกระพุ้งแก้ม เช่น กาแฟ ช็อกโกแลต หรืออาหารที่มีรสเผ็ด เค็ม หรืออาหารที่เป็นกรด
  • เป็นโรคบางชนิด เช่นโรคเบาหวาน โรคเอดส์ และโรคเบเซ็ทซึ่งเป็นโรคที่เกิดการอักเสบขึ้นทั่วร่างกาย เป็นต้น
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ
  • นอกจากนี้ หากสมาชิกในครอบครัวมีคนเป็นโรคแผลในปากก็อาจจะมีความเสี่ยง เพราะโรคนี้อาจมาทางพันธุกรรมได้

ควรทำอย่างไรเมื่อเกิดแผลในปาก ?

โดยส่วนมากแล้วการเป็นแผลในปากจะสามารถหายได้เอง หากแผลที่เป็นนั้นไม่รุนแรง และเราสามารถบรรเทาอาการแผลในปากได้ ดังนี้

  • ล้างปากโดยใช้น้ำเกลือและเบกกิ้งโซดา หรือใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ เพื่อช่วยลดอาการปวดและบวม
  • ใช้ยามิลค์ออฟแมกนีเซียบริเวณที่เกิดแผลในปาก
  • ใช้เบกกิ้งโซดาทาบริเวณแผลในปาก
  • ประคบน้ำแข็งบริเวณที่เป็นแผลในปาก
  • ใช้ยาชาเฉพาะที่ที่หาซื้อได้ด้วยตนเองภายใต้คำแนะนำของเภสัชกร อย่างยาไซโลเคน
  • ระมัดระวังเรื่องการรับประทานอาหารมากเป็นพิเศษ โดยควรรับประทานอาหารอ่อนและอาหารที่มีสารโภชนาการครบถ้วน ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีรสจัดหรือมีรสเค็ม รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกขนมกรุบกรอบ อาหารและเครื่องดื่มที่มีกรดมาก และไม่เคี้ยวหมากฝรั่ง
  • รับประทานอาหารเสริมที่มีกรดโฟลิค วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และสังกะสี ในปริมาณที่เหมาะสมภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
  • ใช้หลอดเมื่อต้องดื่มน้ำเย็น
  • นำถุงชาที่ชุ่มน้ำแปะตรงบริเวณที่เป็นแผล
  • แปรงฟันโดยใช้แปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม และใช้ยาสีฟันที่ไม่มีฟอง โดยต้องไม่ใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของโซเดียมลอริลซัลเฟต
  • ใช้สมุนไพรบำบัดและวิธีการรักษาทางธรรมชาติ เช่น ชาดอกคาโมมายล์ เอ็กไคนาเชีย มดยอบ และรากชะเอม เป็นต้น โดยศึกษาวิธีการ ปริมาณ และความปลอดภัยให้ดีก่อนเสมอ

แผลในช่องปากมีอันตรายมากน้อยเพียงใดและมีข้อแนะนำเกี่ยวกับแผลในช่องปากอย่างไร

แผลในช่องปากหากเป็นแล้วสามารถรักษาให้หายได้ แต่บางที่อาการปวดก็ทำให้เราทรมาน ทานอาหารไม่ได้ซึ่งถ้าได้รับการตรวจวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสม ก็จะหายได้เป็นปกติ เนื่องจากแผลในช่องปาก มีสาเหตุได้หลายประการ ดังนั้นเมื่อมีความผิดปกติเกิดขึ้นควรจะพบทันตแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัย และรับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก แผลในช่องปากที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้ก็คือมะเร็งในช่องปาก ซึ่งส่วนใหญ่ถ้าหากได้รับการตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าปล่อยไว้จนแผลนั้นลุกลามมากขึ้นทำให้การรักษายุ่งยาก หากรู้ว่าเป็นแผลในช่องปากควรรีบรักษาอย่าชะล่าใจว่าคงไม่เป็นอันตราย หากเราไม่รีบรักษาและหากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ ก็อาจจะทำให้ แผลในช่องปากของเรากลายเป็นโรคร้ายทำลายชีวิตเราได้ รู้ว่าเป็นแล้วรีบรักษาโรคแผลในช่องปากสามารถหายได้

เมื่อใดที่เราควรไปพบแพทย์

  • แผลร้อนในมีขนาดใหญ่กว่าปกติ
  • เป็นแผลร้อนในนานกว่า 2 สัปดาห์
  • แผลเดิมยังคงอยู่ แต่มีแผลใหม่เกิดขึ้นก่อนแผลเก่าจะหาย หรือพบว่าเป็นแผลในปากบ่อย ๆ
  • แผลลุกลามไปยังบริเวณริมฝีปาก
  • มีแผลที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด
  • มีอาการเจ็บปวดที่ไม่สามารถควบคุมได้ด้วยวิธีรักษาทางธรรมชาติหรือยาที่หาซื้อได้ด้วยตนเอง
  • รับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มได้ลำบากมาก
  • มีอาการท้องเสียหรือมีไข้สูงในระหว่างที่เกิดแผลในปาก

หากเรามีอาการข้างต้นนี้เราควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพราะนั้นคือการเตือนภัยอย่างหนึ่งของโรคแผลในช่องปาก หากเรารักษาทันก็จะหาย แต่หากเราไม่รักษาก็จะกลายเป็นโรคร้ายทำลายเราได้ ทางที่ดีรู้ว่ามีแผลที่ปากรักษาด้วยตนเองแล้วยังไม่หายให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง