เทคนิคตัดกรามมีเทคนิคอะไรบ้างและการตัดกรามเหมาะกับใคร

ตัดกราม

สาว ๆ ส่วนใหญ่มักมีความต้องการให้รูปหน้าของตนมีรูปหน้าที่เรียวสวยสมส่วนมีมิติ จึงทำให้เกิดการทำศัลยกรรมใบหน้าที่ไม่น้อยหน้าไปกว่าการทำจมูก การทำตาสองชั้นหรือการเสริมคาง การตัดกรามจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะทำให้สาว ๆมีความมั่นใจ เป็นการช่วยแก้ไขปัญหามุมกรามที่บานใหญ่ที่ทำให้ใบหน้า ดูแข็งทื่อ บึกบึน แลดูไม่อ่อนโยน ซึ่งการผ่าตัดกระดูกมุมกรามนับว่าเป็นวิธีการรักษา ที่ให้ผลลัพธ์แบบถาวร ช่วยทำให้ใบหน้าดูละมุนอ่อนหวาน เป็นที่นิยมมากทั้งใน ผู้หญิงรวมไปถึงคุณผู้ชายที่อยากเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ดูดียิ่งขึ้น และก่อนที่จะทำการตัดกรามนั้นผู้เข้ารับบริการควรที่จะศึกษาถึงเทคนิคในการทำว่ามีขั้นตอนอะไรบ้างเพื่อความปลอดภัยในการเข้ารับบริการ

เทคนิคตัดกราม เพื่อใบหน้าที่เรียวสวยมีเทคนิคอะไรบ้าง

วิธีการตัดกรามในปัจจุบันมีอยู่ 2 เทคนิคด้วยกัน วิธีแรกคือ เทคนิคเปิดแผลนอก ช่องปาก และ เทคนิคเปิดแผลในช่องปาก โดยทั้ง 2 เทคนิคจะใช้วิธีการวางยาสลบ และใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 2-3 ชั่วโมง

1. เทคนิคเปิดแผลนอกช่องปาก

โดยผ่านผิวหนังบริเวณมุมกรามโดยตรงและผ่าตัดในช่องปากโดยซ่อนแผลไว้ บริเวณซอกเหงือกด้านหลังฟันซี่สุดท้ายในปากเริ่มจากแพทย์จะเปิดแผลตรงบริเวณ มุมกรามทั้ง 2 ข้างเข้าไปที่มุมกระดูกขากรรไกร แล้วใช้เครื่องมือซึ่งเป็นเลื่อยเล็ก ๆ ตัดตามตำแหน่งที่ต้องการ โดยหลังผ่าตัดมีระยะเวลาบวมน้อยกว่าผ่าตัดในช่องปาก คือ ประมาณ 3 – 5 วัน อาการบวมก็จะเริ่มหายไป แต่ปัจจุบันวิธีนี้อาจไม่เป็นที่นิยม มากนัก เนื่องจากขณะผ่าตัดมีโอกาสไปกระทบกระเทือนต่อเส้นประสาทที่มาเลี้ยง กล้ามเนื้อมุมปากได้มากกว่า อาจทำให้เกิดอาการปากเบี้ยวได้ชั่วคราว และที่สำคัญ อีกอย่างคือ จะมีรอยแผลผ่าตัดยาวประมาณ 2-3 ซม.ให้เห็นที่มุมกรามทั้ง 2 ข้างได้

2. เทคนิคเปิดแผลในช่องปาก

เริ่มจากผ่าตัดผ่านซอกเหงือกด้านหลังฟันกรามไปยังมุมกระดูกขากรรไกร จากนั้นก็ตัดแต่งกรามตามต้องการการผ่าตัดวิธีนี้จะเป็นที่นิยมกันมากกว่าเพราะไม่ เห็นแผลเป็น นอกจากนั้นกระดูกกรามที่ได้จะโค้งเนียนสวยกว่าเพราะสามารถตัดแต่ง ได้ตลอดกระดูกขากรรไกร เนื่องจากไม่ต้องมาพะวงเรื่องแผลเป็นทำให้สามารถเปิด แผลได้ยาวกว่าอีก ทั้งวิธีนี้ยังไม่เสี่ยงกระทบเส้นประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อมุมปากด้วย อย่างไรก็ตามการตัดกรามในช่องปากต้องอาศัยศัลยแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญและ ต้องใช้เครื่องมือพิเศษที่สามารถเลื่อยหรือเหลากระดูกได้ในซอกแคบ ๆ แต่จะว่าไป นี่ก็ไม่ถือว่าเป็นอุปสรรคอะไร เนื่องจากปัจจุบันมีศัลยแพทย์ที่มีความชำนาญในการ ผ่าตัดอยู่ไม่น้อย และเครื่องมือก็มีความทันสมัยมากขึ้น สำหรับเรื่องของอาการบวม หลังผ่าตัด การผ่าตัดในช่องปากจะมีอาการบวมมากกว่าคือประมาณ 5 -10 วัน เพราะทำในที่แคบซึ่งยากกว่าและเนื้อเยื่ออาจชอกช้ำมากกว่า

ใครบ้างที่เหมาะกับการตัดกราม

  • ผู้ที่มีขากรรไกรล่างกว้าง
  • ผู้ที่มีมุมกรามใต้หู
  • ผู้ที่มีกรามโดยรวมขนาดใหญ่
  • ผู้ที่มีใบหน้าไม่สมมาตรฐาน

ผู้เข้ารับการตัดกรามต้องเตรียมตัวอย่างไร

เริ่มแรกคือการพูดคุยปรึกษากับศัลยแพทย์ถึงผลลัพธ์การผ่าตัดกรามที่คนไข้ต้องการ โดยแพทย์จะแนะนำและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการต่าง ๆ ประโยชน์ในระยะยาว ความเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อนที่อาจขึ้น ระยะเวลาการฟื้นตัวหลังผ่าตัด รวมถึงการเตรียมความพร้อมด้านจิตใจของคนไข้ที่อาจไม่คุ้นชินกับรูปหน้าใหม่และเผชิญภาวะซึมเศร้า

ต่อมาจึงประเมินลักษณะขากรรไกรของผู้ป่วย เพื่อพิจารณาถึงเทคนิคการผ่าตัดและจัดตำแหน่งขากรรไกรที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของคนไข้ที่สุด เมื่อแน่ใจและเข้าใจตรงกันแล้วว่าควรใช้การผ่าตัดแบบใด จึงวางแผนการผ่าตัดทั้งหมด เริ่มจากการตรวจประเมินคนไข้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการตรวจร่างกาย ถ่ายภาพใบหน้าและลักษณะของขากรรไกรก่อนผ่าตัด ตรวจประเมินกระดูกของผู้เข้ารับการผ่าตัดด้วยการถ่ายภาพเอกซเรย์ รวมทั้งการพิมพ์ฟันเพื่อใช้ประกอบการวางแผนผ่าตัด

การดูแลตัวเองหลังตัดกรามต้องทำอย่างไร

  1. ประคบความเย็น ในช่วง 1-3 วันแรก เพื่อลดอาการบวม หลังจากนั้นอาการบวมจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับ โดยทั่วไป อาการบวมมักจะยุบลงและได้รูปร่างของคางใหม่เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 1-3 เดือน
  2. ควรนอนยกศีรษะสูงในช่วง 1 สัปดาห์แรก
  3. ประคบด้วยอุ่นหลังจากการผ่าตัดประมาณ 1-2 สัปดาห์เพื่อลดรอยเขียวช้ำหายเร็วขึ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้
  4. ทานยาแก้ปวด ลดบวม ตามที่แพทย์แนะนำ
  5. ระมัดระวังการกระทบกระเทือนบริเวณกราม โดยเฉพาะในช่วงเวลา 3-4 สัปดาห์แรก
  6. รับประทานอาหารอ่อน งดอาหารแข็งหรืออาหารที่ต้องใช้แรงบดเคี้ยว ในช่วง 1 เดือนแรก
  7. งดสูบบุหรี่ ในช่วง 1 เดือน หลังการผ่าตัด
  8. รักษาความสะอาดของช่องปากด้วยการแปรงฟันเบาๆ เพื่อขจัดเศษอาการตกค้างซึ่งจะทำให้เกิดการอักเสบได้

ภาวะแทรกซ้อนสำคัญที่ผู้ป่วยควรกลับมาพบแพทย์โดยเร็ว

  • มีเลือดสีแดงสดจำนวนมากออกทางปาก จมูก หากมีอาการให้รีบประคบเย็นนอกช่องปากแล้วมาพบแพทย์โดยเร็ว (24 ชม.)
  • มีอาการบวมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ หลังออกจากโรงพยาบาล อาจเป็นได้จากการติดเชื้อหรือมีเลือดออกภายในผิวหนัง
  • มีการหายใจลำบาก กลืนน้ำไม่ลง คอบวม เจ็บ เสียงแหบแห้ง
  • ขากรรไกรมีการขยับเปลี่ยนตำแหน่งอย่างผิดสังเกต ใบหน้าผิดรูปอย่างชัดเจน
  • ได้รับการกระทบกระแทกบริเวณศีรษะ ใบหน้า อย่างรุนแรง
  • ภาวะเลือดออกมากผิดปกติหลังผ่าตัด (พบได้น้อย)
  • เวลารับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ อาจมีสำลักขึ้นจมูกได้ จึงควรดื่มน้ำและรับประทานอาหารอย่างช้าๆ และอย่างระมัดระวัง
  • การผ่าตัดไม่เป็นไปตามแผนการรักษา