ผ่าตัดตาเหล่ ซึ่งคนปกติจะมองเห็นภาพชัดทั้ง 2 ตา จึงสามารถมองภาพเดียวโดยใช้ตาทั้งสองข้างไปพร้อม ๆ กัน ตาเข ตาเหล่ (Strabismus) คือ สภาวะที่ลูกตาทั้ง 2 ข้างไม่ขนานกันและทำงานไม่ประสานกันทำให้ตาข้างนั้นไม่ถูกใช้งาน ในขณะที่ ตาเหล่เทียม (Pseudostrabismus) มักพบในเด็กที่บริเวณสันจมูกยังโตไม่เต็มที่ และบริเวณหัวตากว้าง (Epicanthus) จึงแลดูคล้ายภาวะตาเหล่เข้าใน แต่เมื่อเด็กโตขึ้นดั้งจมูกสูงขึ้น ภาวะตาเหล่นี้ก็จะหายไป ตาเหล่สำหรับคนทั่วไป อาจคิดว่าเป็นโรคที่รักษายาก แต่สำหรับจักษุแพทย์แล้วมีทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยตาเหล่อยู่หลายวิธี โรคตาเหล่เป็นภาวะที่ตาสองข้างไม่อยู่ในแนวแกนเดียวกัน
แนวทางการรักษาตาเหล่เป็นอย่างไร
ก่อนจะให้การรักษาโรคตาเหล่ ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการตรวจตาโดยละเอียดรวมถึงการตรวจจอตา เพื่อหาความผิดปกติภายในลูกตาซึ่งอาจเป็นสาเหตุของตาเหล่ และให้การรักษาตามความเหมาะสม ตัวอย่างเช่นผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งจอตา (retinoblastoma) ตาข้างที่เป็นโรคอาจมีระดับสายตาลดลงมากเนื่องจากก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่บังจุดภาพชัด (macula) เป็นผลให้เกิดภาวะตาเหล่ตามมา ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการรักษาโรคมะเร็งโดยไม่ชักช้า เพื่อป้องกันไม่ให้โรคแพร่กระจายออกไปนอกลูกตา
การรักษาโรคตาเหล่ในเด็กควรกระทำตั้งแต่เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดีที่สุด คือเด็กมีระดับสายตาปกติทั้งสองตาและสามารถมองเห็นภาพสามมิติได้ แนวทางการรักษาโรคตาเหล่ในเด็กประกอบด้วยการรักษาภาวะสายตาขี้เกียจ โดยการปิดตาข้างที่สายตาดี เพื่อกระตุ้นให้เด็กใช้ตาข้างที่มีสายตาขี้เกียจบ่อยขึ้น ระยะเวลาในการปิดตาขึ้นกับความรุนแรงของภาวะสายตาขี้เกียจและอายุของเด็ก
หากเป็นเด็กเล็กการปิดตาข้างที่ดีในแต่ละวันไม่ควรปิดติดต่อกันนานหลายชั่วโมง เพราะอาจทำให้ระดับสายตาข้างที่เคยปกติลดลง เรียกภาวะนี้ว่า occlusion amblyopia เนื่องจากเด็กส่วนใหญ่มักไม่ให้ความร่วมมือในการปิดตาข้างที่ดี การรักษาจึงต้องอาศัยความร่วมมือของผู้ปกครองและครู โดยต้องเล็งเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการรักษาภาวะสายตาขี้เกียจในระยะที่เหมาะสม
สาเหตุของตาเหล่คืออะไร สามารถเกิดขึ้นได้อย่างไร
เกิดได้หลายกรณี แต่ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อตาทำงานไม่สัมพันธ์กัน นอกจากนั้นอาจเกิดจากปัญหาทางสายตาบางอย่าง เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง หรือเป็นโรคจอประสาทตาลอกตัว (ROP) ซึ่งกรณีหลังนี้มักพบในเด็กที่คลอดก่อนกำหนดที่อยู่ตู้อบและได้รับออกซิเจนช่วยหายใจ
จึงอาจกระตุ้นให้มีความผิดปกติที่จอประสาทตาและทำให้สายตาผิดปกติไปได้ ซึ่งเด็กเหล่านี้เมื่อโตขึ้นจะค่อย ๆ พัฒนาอาการตาเหล่ ในบางรายถึงขนาดมองไม่เห็นหรือตาบอดได้ปัญหาตาเหล่ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ถ้ารักษาได้แต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่เด็กจะเป็นเรื่องที่ดีมาก โดยปกติ แพทย์จะแนะนำให้รักษาก่อนเด็กเข้าโรงเรียนหรือก่อน 3 ขวบ อย่างช้าประมาณ 5 ขวบ เนื่องจากการพัฒนาการมองเห็นภาพของตาจะอยู่ในช่วงประมาณ 7 ขวบปีแรก ถ้าไม่แก้ไขอาการตาเหล่ก่อน 7 ขวบ อาจทำให้ตาข้างใดข้างหนึ่งสูญเสียการใช้งานอย่างถาวร ที่สำคัญหากรอจนเด็กเข้าโรงเรียนแล้วจะเป็นปมด้อยหรือถูกล้อเลียนได้
การรักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
การให้แว่นสายตา ใช้รักษาในผู้ป่วยตาเหล่ที่มีสาเหตุมาจากสายตาผิดปกติ เช่น สายตายาวที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่เข้า หรือ สายตาสั้นที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดตาเหล่ออก
- ให้แว่น prism ซึ่งช่วยหักเหแสงให้ตกลงพอดีที่จุดรับภาพที่จอตา
- การฝึกกล้ามเนื้อตา
- การรักษาด้วยยา เช่น การฉีดโบท็อกช์ (Botulinum Toxin) โดยฉีดที่กล้ามเนื้อตา ทำให้กล้ามเนื้อมัดนั้นอ่อนแรง มีฤทธิ์อยู่นานประมาณ 2-3 เดือน
การรักษาตาขี้เกียจ (Amblyopia) ในเด็กตาเหล่ที่มีภาวะตาขี้เกียจ จำเป็นต้องรีบให้การรักษาทันที และต้องรักษาก่อนที่จะผ่าตัดแก้ไขตาเหล่ และควรรักษาช่วงก่อนที่เด็กจะอายุมากกว่า 7 ปี ซึ่งเมื่อเด็กอายุมากกว่า 8-9 ปีขึ้นไปมักรักษาไม่ได้ผลแล้ว ตาข้างนั้นก็จะมัวอย่างถาวร การรักษาตาขี้เกียจทำโดยการปิดตาข้างที่ดี เพื่อกระตุ้นให้ตาข้างที่เป็นตาขี้เกียจได้ใช้งาน ควรปิดตาอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง จนกว่าสายตาทั้งสองข้างจะมองเห็นปกติแต่ละรายอาจใช้เวลาไม่เท่ากัน
การรักษาโดยการผ่าตัด
เป็นการรักษาโดยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตา ทำให้ตาตรง เละให้ผลดีทางด้านการทำงานของตาด้วย การผ่าตัดโรคตาเหล่ในเด็ก หากตรวจเช็คว่ามีภาวะโรคตาเหล่เพียงอย่างเดียว ไม่มีความผิดปกติในส่วนอื่น ๆ เช่น ประสาทตาปกติดี ไม่พบภาวะตาขี้เกียจ ก่อนผ่าตัดจักษุแพทย์จะทำการตรวจเช็คมุมเหล่ของสายตา จากนั้นดมยาสลบเพื่อทำการผ่าตัด ซึ่งเป็นการผ่าตัดที่ไม่เป็นอันตราย สามารถทำการผ่าตัดได้ในเด็กเล็ก การผ่าตัดรักษาโรคตาเหล่ในเด็ก นอกจากจะช่วยให้ตาตรง กลับมาสวยงาม ยังช่วยทำให้การมองเห็นมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ในกรณีที่เป็นโรคตาเหล่ตั้งแต่เด็ก และถูกปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาจนถึงวัยผู้ใหญ่นั้น การผ่าตัดจะช่วยให้ทำให้ตาตรงกลับเป็นปกติ แต่ไม่ช่วยในเรื่องการมองเห็นที่ดีขึ้น