ลักยิ้มมุมปากเกิดขึ้นได้อย่างไร เตรียมตัวก่อนผ่าตัดย่างไรบ้าง

ลักยิ้มมุมปาก

สำหรับใครหลาย ๆ คนที่ไม่มีลักยิ้มอาจจะสงสัยว่าลักยิ้มมุมปากเกิดขึ้นได้อย่างไร แล้วทำไมถึงไม่มีกันทุกคน ดังนั้นวันนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับลักยิ้มที่ใครหลาย ๆ คนสงสัยว่าลักยิ้มเกิดขึ้นได้อย่างไร ลักยิ้มคือ ลักษณ์รอยบุ๋มเล็ก ๆ ลงไปที่ข้างแก้ม จะเห็นได้ชัดในเวลาขยับบริเวณกล้ามเนื้อแก้ม ไม่ว่าจะเป็นการพูด หรือ หัวเราะและเห็นได้ชัดที่สุดก็คือเวลายิ้ม บางคนมีข้างเดียวหรือบางคนมีทั้ง 2 ข้าง ซึ่งมักจะเป็นที่ชื่นชอบของสาว ๆ หลาย ๆ คน ปรารถนาให้ตัวเองมีลักยิ้ม เพราะใครก็ตามที่มีลักยิ้ม ถือว่าคนนั้นมีเสน่ห์เป็นที่ดึงดูดของคนอื่น ดูสดใส น่ารัก มากกว่าคนไม่มีลักยิ้ม จนทำให้สาว ๆ หลายคน ถึงขนาดต้องไปทำศัลยกรรมกันเลยทีเดียว เพื่อเป็นการเพิ่มเสน่ห์ให้กับตัวเอง

ลักยิ้มเกิดขึ้นได้อย่างไร

ลักยิ้มเกิดได้จากโครงสร้างกล้ามเนื้อของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน เพราะคนที่จะมีลักยิ้มได้คือคนที่มีกล้ามเนื้อสั้นกว่าปกติ เวลายิ้มทำให้กล้ามเนื้อถูกดึง เลยทำให้เกิดรอยบุ๋มลงที่ข้างแก้ม ที่เราเรียกกันว่า “ลักยิ้ม” นั่นเอง อีกส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม เพราะถ้าพ่อแม่มีลักยิ้ม ลูกคลอดออกมามีโอกาสเป็นลักยิ้มได้ไม่ต่ำกว่า 50% เลยทีเดียว

การทำศัลยกรรมลักยิ้มมีกี่วิธี  ?

โดยทั่วไปแล้ว ลักยิ้มจะมีอยู่ 2 แบบ คือ

  1. ลักยิ้มแบบขีด จะมีรอยขีดเล็ก ๆ โดยรอบบริเวณมุมปากทั้ง 2 ด้าน เช่น เป็นลักยิ้มขนาดเล็ก ๆ อยู่เหนือมุมปากหรือใต้มุมปาก(บางคนอาจอยู่ด้านล่างแก้ม)
  2. ลักยิ้มแบบจุด จะมีลักษณะเป็นรอยบุ๋มหรือจุดบริเวณแก้มหรือใต้ตา ซึ่งจะเห็นได้ชัดเจนกว่ารอยยิ้มแบบรอยขีดที่มุมปาก ทั้งนี้สาเหตุของการเกิดลักยิ้มมาจากเส้นใยของกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ยกมุมปากไปยึดเกาะกับผิวหนังบริเวณมุมปากที่ชั้นผิวหนัง จนทำให้เกิดรอยขีดหรือรอยบุ๋มของผิวหนังโดยเฉพาะเวลายิ้ม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบางคนอาจมีลักยิ้มเพียงข้างเดียวหรือสองข้างก็เป็นได้

โดยหลักการที่จะทำให้เกิดลักยิ้มนั้นทำโดยการเย็บกล้ามเนื้อเข้ากับชั้นผิวหนัง แต่รายละเอียดเทคนิคก็แตกต่างกันไปตามความถนัด

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดทำลักยิ้ม

  • ล้างหน้า แปรงฟัน ก่อนผ่าตัด
  • ทานอาหารให้พออิ่ม เพราะหลังผ่าตัดมักทานอาหารได้น้อย
  • งดยาต้านการอักเสบ (NSAID) เช่นแอสไพริน บุหรี่ อาหารเสริมบางตัวที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น กระเทียม น้ำมันปลา อย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการผ่าตัด
  • สมุนไพรบางชนิดเช่นอีฟนิ่งพริมโรส ยาวิตามินอีปริมาณสูง ๆ อาหารที่มีส่วนผสมของผงชูรส กระเทียม หัวหอม ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง อาจทำให้เลือดออกมากผิดปกติหรือมีปัญหาระหว่างผ่าตัด ควรแจ้ง
  • ให้แพทย์ทราบเพราะอาจต้องหยุดรับประทานสมุนไพรก่อนเข้ารับการผ่าตัดประมาณ 3 – 5 วัน
  • ลาหยุดงานประมาณ 1 – 2 วัน
  • เตรียมกำหนดตำแหน่งที่จะทำลักยิ้มบริเวณแก้ม ก่อนมาปรึกษาแพทย์
  • โดยทั่วไปมักแนะนำให้ทำลักยิ้ม 1 ข้าง เนื่องจากจะมีรอยบุ๋มตลอดเวลาประมาณ 1 เดือน หลังจาก 1 เดือนแล้วจะมีรอยบุ๋มเฉพาะเวลาที่ยิ้ม

ขั้นตอนการผ่าตัดทำอย่างไร

  • เลือกตำแหน่งที่จะทำให้เกิดลักยิ้ม ถ้าต้องการทำทั้ง 2 ข้างก็ทำการวัดเพื่อให้ได้ระยะที่เท่ากัน
  • ฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการผ่าตัด
  • ตัดบริเวณเยื่อบุและกล้ามเนื้อในกระพุ้งแก้มให้ถึงชั้นไขมันแล้วเย็บบริเวณชั้นผิวหนังกับกล้ามเนื้อบริเวณกระพุ้งแก้มเย็บปิดบริเวณเยื่อบุกระพุ้งแก้มด้วยไหมละลาย

คำแนะนำหลังการทำลักยิ้ม

  • หลังผ่าตัดช่วง 3-5 วันแรกอาจมีอาการบวมให้ประคบเย็นเป็นเวลา 2 วันและให้นอนยกศีรษะสูงในช่วง 2 วันแรก
  • หลังผ่าตัดวันแรกควรทานอาหารเหลว จากนั้นวันที่ 2-3 ให้ทานอาหารอ่อนได้ และห้ามทานอาหารรสจัด 2-3 สัปดาห์หรือจนกว่าแผลจะหายสนิท
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีรสอ่อน แนะนำให้รับประทานอาหารที่เป็นของเย็น เพื่อลดอาการบวม
  • ห้ามรับประทานอาหารหมักดอง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ เนื่องจากอาหารประเภทนี้เป็นของแสลง อาจทำให้แก้มที่หายบวมแล้วกลับมาบวมอีกครั้ง
  • ควรบ้วนปากเช้า เย็น และหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ
  • แผลผ่าตัดภายในปากจะใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ก็จะหายเป็นปกติ
  • ควรหลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนต่อแผลผ่าตัดเนื่องจากอาจเกิดการอักเสบหรือแผลแยกได้
  • ช่วงแรก จะเกิดลักยิ้มบุ๋มตลอดเวลา แม้จะไม่ได้ยิ้มก็ตาม สามารถใช้พลาสเตอร์สีเนื้อปิดบริเวณที่ทำลักยิ้มได้ เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ   1-3 เดือน พังผืดจะมีการคลายตัวและจะเกิดรอยบุ๋มขึ้นเวลายิ้ม
  • ควรทายาขี้ผึ้งที่แพทย์จัดให้ ตรงบริเวณรอยบุ๋มลักยิ้ม