อาการของคนที่ติดโควิด

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่เพิ่งค้นพบ ผู้ป่วยโรคโควิด-19 จะมีอาการของคนที่ติดโควิด มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ส่งผลต่อผู้คนในรูปแบบที่แตกต่างกันไป และหายจากโรคนี้ได้เองโดยไม่ต้องรับการรักษาพิเศษ

การแพร่ระบาดของโรค

ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 จะแพร่กระจายผ่านฝอยละอองเป็นหลัก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือหายใจออก ฝอยละอองเหล่านี้มีน้ำหนักมากเกินกว่าจะลอยอยู่ในอากาศ และจะตกลงบนพื้นหรือพื้นผิวอย่างรวดเร็ว

คุณอาจติดเชื้อได้จากการหายใจเอาไวรัสเข้าสู่ร่างกายเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 หรือโดยการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสแล้วสัมผัสตา จมูก หรือปากของตนเอง เพราะฉะนั้นต้องตรวจโควิด rt pcr

อาการของคนที่ติดโควิด

อาการทั่วไปมีดังนี้

อาการที่พบได้บ่อย

มีไข้ มีอุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป ผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีไข้เลย
มีอาการทางเดินหายใจข้อใดข้อหนึ่ง ซึ่งบางคนอาจจะมีเพียงอาการเดียว หรือมากกว่านั้น คือ

  • เจ็บคอ
  • ไอ
  • มีน้ำมูก
  • หายใจเร็ว หายใจลำบาก หอบเหนื่อย
  • จมูกไม่ได้กลิ่น หรือลิ้นไม่รับรส

อาการรุนแรงมีดังนี้

  • หายใจลำบากหรือหายใจถี่
  • เจ็บหน้าอกหรือแน่นหน้าอก
  • สูญเสียความสามารถในการพูดและเคลื่อนไหว

โดยเฉลี่ยแล้วผู้ที่ติดเชื้อไวรัสจะแสดงอาการป่วยใน 5-6 วัน อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยอาจใช้เวลานานถึง 14 วันจึงจะแสดงอาการ

หากสังเกตอาการ และสงสัยว่าตนเองเสี่ยงติดเชื้อ ให้สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างจากบุคคลอื่นๆ และควรรีบไปพบแพทย์ทันที

อาการโควิดสายพันธุ์อัลฟา (สายพันธุ์อังกฤษ B.1.1.7)

อาจพบอาการต่อไปนี้

  • ในช่วง 14 วันแรกจะมีอาการเป็นไข้
  • หนาวสั่น
  • ไอ หายใจถี่ หายใจลำบาก
  • ปวดศีรษะ
  • สูญเสียการได้กลิ่น
  • เจ็บคอ
  • มีน้ำมูก
  • อ่อนเพลีย
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • อาเจียน หรือท้องเสีย

มีผื่นขึ้นที่เท้าหรือนิ้วเท้า ลักษณะคล้ายตาข่ายหรือเส้นใยเล็ก ๆ หรือมีจุดเลือดออก หรือมีผื่นบวมแดงคล้ายโรคลมพิษ หรือบางรายอาจมีลักษณะกลุ่มของตุ่มน้ำคล้ายโรคอีสุกอีใส

บางรายอาจมีอาการตาแดง แต่พบได้น้อยเพียง 1-3% โดยมีอาการเยื่อบุตาอักเสบหรือบวม น้ำตาไหล ระคายเคืองตา คัน มีขี้ตา ตาสู้แสงไม่ได้

อาการโควิดสายพันธุ์เดลตา (สายพันธุ์อินเดีย B.1.617)

  • ปวดหัว
  • เจ็บคอ
  • มีน้ำมูก
  • มักจะไม่ค่อยสูญเสียการรับรส
  • มีอาการทั่วไปคล้ายหวัดธรรมดา

ดังนั้น หากรู้สึกไม่สบาย คล้ายเป็นหวัด ควรสังเกตตัวเอง หากมีอาการน่าสงสัยให้รีบไปพบแพทย์

อาการโควิดสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้)

  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • เจ็บคอ
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ
  • ตาแดง
  • การรับรสหรือการได้รับกลิ่นผิดปกติ
  • มีผื่นขึ้นบริเวณผิวหนัง หรือนิ้วมือ นิ้วเท้าเปลี่ยนสี

โควิดลงปอด มีอาการอย่างไรบ้าง ?

อาการที่สังเกตได้ว่าเชื้อโควิดลงปอดแล้วก็คือ

  • ไอแห้ง ๆ มีอาการไอมากขึ้น
  • เหนื่อยง่ายขึ้น สังเกตได้จากเวลาทำกิจกรรมอะไรก็ตามที่เคยทำได้ปกติ แต่ตอนนี้เมื่อทำแล้วจะรู้สึกเหนื่อยเร็วกว่าเดิม
  • หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก
  • หายใจติดขัด หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม เนื่องจากเชื้อที่ลงปอดจะทำให้เกิดการอุดกั้นบริเวณถุงลมปอด ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนและลำเลียงออกซิเจน
  • พูดติดขัด ขาดห้วง
  • ระดับออกซิเจนในเลือดลดต่ำลง เพราะเชื้อที่อุดกั้นถุงลมปอด ทำให้การลำเลียงออกซิเจนไม่ดี จึงส่งออกซิเจนไปยังกระแสเลือดน้อยกว่าปกติ

การประเมินอาการความรุนแรงของผู้ป่วยโควิด 19 จะแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ

ผู้ป่วยสีเขียว อาการไม่รุนแรง สามารถทำ Home isolation ได้

  • ไม่มีอาการ
  • มีไข้ หรือวัดอุณหภูมิร่างกายได้ 5 องศาเซลเซียสขึ้นไป
  • ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ
  • ไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ตาแดง ผื่น
  • ถ่ายเหลว
  • ไม่มีอาการหายใจเร็ว
  • ไม่มีอาการหายใจเหนื่อย
  • ไม่มีอาการหายใจลำบาก
  • ไม่มีปอดอักเสบ
  • ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง / โรคร่วมสำคัญ

ผู้ป่วยสีเหลือง

  • มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือโรคร่วมสำคัญ ข้อใดข้อหนึ่ง
  • แน่นหน้าอก
  • หายใจไม่สะดวกขณะทำกิจกรรม
  • หายใจเร็ว เหนื่อย หายใจลำบาก ไอแล้วเหนื่อย
  • อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
  • ปอดอักเสบ
  • ถ่ายเหลวมากกว่า 3 ครั้งต่อวันร่วมกับหน้ามืดวิงเวียน

ผู้ป่วยสีแดง

  • หอบเหนื่อย พูดไม่เป็นประโยค
  • แน่นหน้าอกตลอดเวลา หายใจแล้วเจ็บหน้าอก
  • ซึม เรียกไม่รู้ตัว ตอบสนองช้า
  • ปอดบวมที่มี hypoxic (risting O2 saturation <96%) หรือมีภาวะลดลงของออกซิเจน SpO2 มากกว่าหรือเท่ากับ 3% ของค่าที่วัดได้ครั้งแรกขณะออกแรง หรือภาพรังสีทรวงอกมี progression ของ pulmonary infiltrates

ประวัติเสี่ยง มีอะไรบ้าง ?

  • เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
  • ประกอบอาชีพที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่เดินทางมาจากเขตติดโรค หรือพื้นที่ที่มีการระบาดต่อเนื่อง
  • สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยสงสัย หรือผู้ป่วยยืนยัน
  • เป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ป่วยยืนยัน

การดูแลตัวเอง และป้องกันการติเชื้อไวรัส โควิด-19

สถานการณ์ไวรัส COVID-19 ยังคงแพร่ระบาดอยู่อย่างต่อเนื่องในขณะนี้ นอกจากการสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันแล้ว เราควรดูแลสุขอนามัยของตนเองเพื่อป้องกัน COVID-19

  • รับประทานอาหารที่ปรุงสุกแล้ว งดอาหารดิบ และเนื้อสัตว์ป่า
  • ใช้ช้อนกลาง เมื่อทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  • หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ล้างให้สะอาด ด้วยแอลกอฮอล์เจลหรือสบู่
  • สวมหน้ากากอนามัยเมื่อต้องออกนอกบ้าน
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด หรือมีมลภาวะเป็นพิษ
  • งดเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงโรคระบาด
  • สังเกตอาการของตนเอง และกักตัวเป็นระยะเวลา 14 วัน เมื่อพบว่าตนเองไปในสถานที่เสี่ยงติดเชื้อ