เชื้อราบนผิวหนัง ปัญหาทางผิวหนังที่พบได้บ่อย

เชื้อราบนผิวหนัง

เชื้อราบนผิวหนัง โรคเชื้อราที่ผิวหนังแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไปเป็นปัญหาทางผิวหนังที่พบได้บ่อยทั้งผู้หญิงและผู้ชายโดยสามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย อีกทั้งยังสร้างความรำคาญและทำให้ขาดความมั่นใจได้ไม่น้อยโรคเชื้อราที่ผิวหนังหรืออีกชื่อหนึ่งคือโรคเชื้อรา เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อรา ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ตามพื้นดิน พืช พื้นผิวของเครื่องใช้หรือเฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านการติดเชื้อราอาจเกิดได้จากการสัมผัสกับเชื้อราโดยตรง การสัมผัสผู้ติดเชื้อ สัตว์ เสื้อผ้าและสิ่งของเครื่องใช้ได้ด้วย

โรคเชื้อราที่ผิวหนัง แบ่งออกเป็นกี่ประเภทอย่างไรบ้าง

โรคผิวหนังชั้นตื้น คือในกลุ่มที่เป็นขี้ไคลบนผิวหนัง กับเชื้อราในผิวหนังชั้นลึกลงมาคือชั้นหนังแท้และที่ติดในชั้นไขมันของเราโดยกลุ่มเชื้อราที่พบบ่อยคือ กลุ่มที่เป็นชนิดตื้น ซึ่งแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะ เช่น โรคเกลื้อน จะมีการบวม มีขุย ๆ หรือสะเก็ดอยู่บริเวณขอบ อาจมีขอบสี แดง ส่วนโรคกลาก นั้นจะมีลักษณะสีผิวที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นวง ๆ สีขาว หรือบางครั้งอาจจะสีคล้ำขึ้นอยู่บริเวณหน้าอกหรือหลังเชื้อราโดยปกติแล้วจะพบได้ตามสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ หากมีปัจจัยการติดเชื้อพร้อม เช่น มีการรับเชื้อ ผิวหนังเสี่ยงการติดเชื้อสูง ก็โอกาสที่จะทำให้เกิดเชื้อราขึ้น

โรคเชื้อราที่ผิวหนังมักเกิดในร่มผ้าบริเวณที่มีการอับชื้นบริเวณง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า แบ่งออกเป็น

  • โรคเชื้อราที่ผิวหนังชั้นตื้น หรือชั้นขี้ไคลบนผิวหนัง เป็นชนิดของโรคเชื้อราที่ผิวหนังซึ่งพบได้บ่อยที่สุด
  • โรคเชื้อราที่ผิวหนังชั้นลึกลงมา หรือหมายถึงชั้นหนังแท้ และส่วนที่ติดในชั้นไขมัน
  • โรคกลาก สามารถพบได้ทั่วตัวตั้งแต่หัวจดเท้า มีลักษณะผื่นเป็นวงขอบแดงมีขุยหรือสะเก็ดเด่นที่ขอบ ส่วนผิวตรงกลางมักจะปกติ มักจะมีอาการคันมาก
  • โรคเกลื้อน เป็นแผ่นราบสีขาว ชมพู พบบ่อยในบริเวณอก หลัง ต้นแขน ใบหน้า มักไม่ค่อยมีอาการ คนที่เป็นจะสังเกตได้จากสีผิวที่เปลี่ยนไป
  • โรคผิวหนังจากการติดเชื้อยีสต์แคนดิดา มักจะพบเป็นปื้นสีแดง ที่มักจะมีจุดแดง ๆ กระจายอยู่โดยรอบ ดังรูปประกอบ บางครั้งพบตุ่มหนองร่วมด้วย มักพบตามบริเวณซอกต่าง ๆ เช่น ขาหนีบ รักแร้ ใต้ราวนม ในคนอ้วนพบได้ตามชั้นของหน้าท้อง คนที่เป็นมักจะมีอาการคันมาก

สาเหตุการติดเชื้อราจากผิวหนัง

การติดเชื้อราจากผิวหนังเกิดจาก การที่เชื้อราในสิ่งแวดล้อมลุกลามเข้าไปในเซลล์ผิวหนัง โดยเฉพาะเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้ว มักจะเป็นอาหารชั้นดีของเชื้อรา เช่น เล็บ หนังกำพร้า หนังศีรษะ ผม หรือผิวหนังในที่อับชื้น  การติดเชื้อส่วนมากจะเกิดจากการสัมผัสเชื้อจากสิ่งแวดล้อมโดยตรง เช่น การสวมใส่เสื้อผ้าที่มีเชื้อรา การสัมผัสเชื้อราจากสิ่งแวดล้อม

อาการของการติดเชื้อราจากผิวหนัง

เชื้อราที่ผิวหนัง สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย เช่น หนังศีรษะ ใบหน้า ลำคอ ลำตัว ขาหนีบ รักแร้ เท้า เล็บ ซอกนิ้ว โดยอาการที่พบบ่อยมีดังนี้

  1. ผิวหนังอักเสบ มีขุยของเศษผิว ถ้ามีการอักเสบมาก ๆ จะมีน้ำเหลืองซึมรอบขอบแผล
  2. เป็นผื่นนูนแดง เป็นวง หรือมีขอบนูนแดง พร้อมกับผิวมีขุยชัดเจน ผื่นจะค่อย ๆ ลามออกช้า ๆ และมีอาการคันร่วมด้วย
  3. หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย จะมีอาการอักเสบรุนแรงขึ้น บวมแดง และมีอาการเจ็บปวด ผิวหนังหลุดลอกจนเห็นผิวชั้นหนังชั้นในแดง ๆ
  4. เล็บขาวซีด หรือเหลืองเป็นบางส่วน ในกรณีที่เป็นเชื้อราที่เล็บ รวมถึงมีการแยกของแผ่นเล็บจากเนื้อเล็บ และหากเกิดการติดเชื้อขึ้น เช่น ติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยก็จะเกิดการอักเสบบวมแดง มีหนองต่อไป

การรักษาโรคเชื้อราที่ผิวหนัง

ส่วนใหญ่สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยาทา ยกเว้นบางกรณี เช่น การติดเชื้อราที่ศีรษะ เส้นผม และที่เล็บ จำพวกนี้ต้องกินยาจึงจะหายขาด ส่วนในกลุ่มคนที่เลี้ยงสัตว์ควรหลีกเลี่ยงการพาเข้าไปเลี้ยงในห้องนอน เพราะเชื้อราที่มาจากสัตว์เลี้ยงค่อนข้างรุนแรง

วิธีการป้องกันการติดโรคเชื้อรา

  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน ตามสุขบัญญัติแห่งชาติเพื่อร่างกายแข็งแรงการติดเชื้อราเกิดในคนภูมิกันต่ำ
  • ไม่คลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคเชื้อรา
  • เมื่อมีเพศสัมพันธ์ต้องใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง
  • ใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำให้ถูกต้องครบถ้วนและพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง