เส้นเลือดขอดเกิดจากเส้นเลือดและขั้วเปิดปิดในเส้นเลือดไม่สมบูรณ์มีการเสื่อมสภาพ ซึ่งเกิดจากการการนั่ง หรือยืนเป็นเวลานาน ๆ จากการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ล้วนเป็นหนึ่งปัจจัยทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี เกิดแรงดันภายในหลอดเลือดดำ เป็นจุดเริ่มต้นให้เกิดเส้นเลือดขอด เมื่อเส้นเลือดเสื่อมสภาพจึงทำให้เกิดการคั่งของเส้นเลือด ปกติขณะที่หัวใจสูบฉีดส่งเลือดแดงเลี้ยงอวัยวะในร่างกาย จะมีเลือดที่ใช้ออกซิเจนหมดแล้วขึ้นกลับไปฟอกใหม่ ซึ่งเส้นเลือดในบางเส้นที่ไม่มีความแข็งแรงจะไม่สามารถส่งเลือดกลับไปได้ตามปกติ จึงมีการคั่งของเลือด ทำให้เกิดอาการเส้นเลือดขอดได้ และสำหรับผู้ที่มีอาการเส้นเลือดขอดต้องหาวิธีรักษาจะมีค่ารักษาเส้นเลือดขอดอย่างไร วันนี้เราจะพาท่านไปดู ดังนี้
สาเหตุของเส้นเลือดขอดเกิดจากอะไรได้บ้าง
เส้นเลือดขอดมักเกิดจากผนังหลอดเลือดและลิ้นควบคุมการไหลของเลือดที่อ่อนแอ เนื่องจากภายในหลอดเลือดจะมีลิ้นเล็ก ๆ คอยเปิดให้เลือดไหลผ่านแล้วปิดป้องกันไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับไปสู่ส่วนล่างของร่างกาย
ผนังหลอดเลือดที่บางครั้งอาจขยายตัวออกจนสูญเสียความยืดหยุ่นเป็นสาเหตุให้ลิ้นที่คอยเปิดปิดนี้อ่อนแอลง เมื่อลิ้นหลอดเลือดไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจึงทำให้เลือดรั่วออกมาและไหลย้อนกลับไปที่ส่วนล่างของร่างกาย ส่งผลให้เลือดสะสมในหลอดเลือดและเกิดอาการบวมพองตามมา
สาเหตุที่ผนังหลอดเลือดยืดขยายตัวจนลิ้นเปิดปิดหลอดเลือดอ่อนแอลงนี้ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่อาจมีปัจจัยเสี่ยงของการเกิดดังต่อไปนี้
- เพศหญิง สำหรับการเกิดเส้นเลือดขอดนั้นมักมีโอกาสเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยนักวิจัยชี้ว่าอาจมีสาเหตุจากฮอร์โมนเพศหญิงที่ไปทำให้ผนังหลอดเลือดคลายตัวลง ส่งผลให้มีโอกาสเกิดการรั่วของลิ้นหลอดเลือด
- ผู้ที่มีพันธุกรรม หรือมีบุคคลในครอบครัวเป็นเส้นเลือดขอดจะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคนี้ ดังนั้นพันธุกรรมจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยของการเกิดเส้นเลือดขอด
- ผู้ที่มีอายุมาก เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น หลอดเลือดก็เริ่มที่จะหลวมและหย่อนตัวลง เป็นเหตุให้ลิ้นหลอดเลือดทำงานได้ไม่ดีตามไปด้วย
- ผู้ที่มีน้ำหนักมาก น้ำหนักตัวจะทำให้เกิดแรงดันบนหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อส่งเลือดกลับไปเลี้ยงหัวใจ ส่งผลให้เกิดแรงดันที่ลิ้นหลอดเลือดสูงขึ้นและเสี่ยงต่อการรั่วของเลือดยิ่งขึ้น
- ผู้ที่มีอาชีพที่ต้องยืนเป็นเวลานาน จะยิ่งเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดขอด เพราะเลือดจะไหลได้ยากขึ้นเมื่อยืนเป็นเวลานาน
- หญิงตั้งครรภ์ ในระหว่างตั้งครรภ์ ปริมาณของเลือดในร่างกายจะเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้เพื่อช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูก แต่จะนำไปสู่การตึงของหลอดเลือด นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนในหญิงตั้งครรภ์ที่สูงขึ้นยังสามารถทำให้ผนังกล้ามเนื้อของหลอดเลือดคลายตัวจนลิ้นเปิดปิดเลือดทำงานบกพร่องได้เช่นกัน
ประเภทของเส้นเลือดขอดมีกี่แบบ
- เส้นเลือดโป่ง (Varicose Veins) อาการนี้จะเกิดจากผนังเส้นเลือดบาง ทำให้เส้นเลือดพอง และขดเป็นหยักอาจมีสีเขียวผสมม่วง
- เส้นเลือดฝอย ลักษณะเป็นแพแบบเส้นใยแมงมุม (Spider Veins) เส้นเลือดขอดประเภทนี้จะอยู่ตื้นมีขนาดเล็ก สีม่วงหรือแดงมองเห็นคล้ายใยแมงมุม
ทำไมต้องรักษาเส้นเลือดขอด
สำหรับโรคเส้นเลือดขอดนั้นเป็นโรคที่หลาย ๆ คนละเลย เพราะคิดว่าไม่ส่งผลกระทบอะไรต่อการดำเนินชีวิต แต่ในความเป็นจริงแล้ว หากเราปล่อยให้เส้นเลือดขอดอยู่กับเราไปนาน ๆ อาจจะต้องทุกข์ทรมานกับอาการปวดจนถึงขั้นไม่สามารถที่จะยืนหรือเดินได้ หรือในบางรายเป็นมากจนถึงขั้นเส้นเลือดแตก การรักษาหลอดเลือดขอด ขึ้นอยู่กับขนาดของเส้นเลือดขอดมี 5 วิธี
- การพันขาเพื่อลดอาการคั่งบวม
- การฉีดสารเคมีเพื่อทำให้หลอดเลือดตีบ (Sclerotherapy)
- การใช้คลื่นความถี่วิทยุ Radio Frequency Ablation (RFA)
- การใช้ Laser
- การผ่าตัด
รักษาเส้นเลือดขอดมีวิธีใดบ้าง
การรักษาเส้นเลือดขอดนั้นจะมีหลายวิธี และแพทย์จะใช้วิธีไหนขึ้นอยู่กับความรุนแรงและลักษณะของเส้นเลือดขอด ในกรณีเส้นเลือดขอดขนาดเล็กและขนาดกลาง (1-3 มม.) รักษาได้โดยการฉีดยาเข้าไปในเส้นเลือดขอด เพื่อปิดการทำงานของหลอดเลือดดำที่โป่งพอง โดยหลังทำสามารถออกกำลังกายและทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และในกรณีเส้นเลือดขอดขนาดใหญ่ (มากกว่า 3 มม.) จะมีการรักษาหลากหลายวิธีดังนี้
- การรักษาด้วยเลเซอร์ หรือ คลื่นวิทยุความถี่สูง (RF) วิธีนี้ใช้เพียงยาชาและเปิดแผลเล็กๆ 1-2 ขนาดรูเข็ม สามารถรักษาเส้นเลือดขอดถึงต้นตอภายใน เส้นเลือดขอดก็จะยุบหายได้ ทำเสร็จสามารถกลับบ้านได้เลย
- การฉีดโฟมเข้าเส้นเลือดขอด โดยใช้เครื่องอัลตราซาวด์ (Catheter-directed Foam Sclerotherapy) เป็นการฉีดโฟมเข้าภายในเส้นเลือดไปปิดการทำงานของหลอดเลือดดำที่โป่งพอง ร่วมกับการอัลตราซาวด์เพื่อช่วยระบุตำแหน่ง (ไม่มีการใช้ X-Ray)
- การฉีดยารักษาเส้นเลือดขอด โดยผ่านสายสวน (Mechanochemical Ablation, MOCA) โดยแพทย์จะฉีดยาเข้าไปในเส้นเลือดผ่านสายสวน โดยมีระบบปั่นภายในเพื่อปิดเส้นเลือดและช่วยกระจายยาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษา วิธีนี้จะมีแผลขนาดเล็กจุดเดียว และหลังการรักษาสามารถกลับบ้านได้เลย
- การใช้สารยึดติดทางการแพทย์ (กาว) รักษาเส้นเลือดขอด (Cyanoacrylate Glue) เป็นการรักษาโดยการใช้สารยึดติดทางการแพทย์ทำให้ผนังหลอดเลือดยึดติดกัน เพื่อปิดหลอดเลือดดำที่มีปัญหา เป็นการเปิดแผลเล็ก ๆ เพียงจุดเดียว ไม่ก่อให้เกิดแผลฟกช้ำ ไม่ต้องพักฟื้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ทันที
- การผ่าตัดเส้นเลือดขอด แบ่งได้เป็น 2 วิธี ได้แก่
- เป็นการผ่าตัดลอกเอาเส้นเลือดขอดออก (High Ligation and Stripping) วิธีนี้จะใช้การบล็อกหลังหรือดมยาสลบ เพื่อทำการผูกและตัดหลอดเลือดดำที่โป่งพองออก หลังทำต้องนอนพัก รพ. 1- 2 คืน และพักต่อที่บ้านประมาณ 7-14 วัน
- วิธีนี้จะเป็นการเจาะเอาเส้นเลือดขอดที่ตื้น ๆ ออก (Phlebectomy) เป็นการใช้เครื่องมือพิเศษดูดเจาะเส้นเลือดขอดที่โป่งนูนออก โดยการให้ยาชาและเปิดแผลเล็ก ๆ ด้วยเครื่องมือพิเศษ ไม่ต้องเย็บแผล ไม่ต้องตัดไหม ทำเสร็จกลับบ้านได้เลย ไม่ต้องนอนพักฟื้นที่ รพ.