สาว ๆ คนไหนที่มีริมฝีปากหนา และต้องการศัลยกรรมปากหนาให้กลายเป็นปากสวยได้ง่าย ๆ ด้วยการศัลยกรรมปากกระจับซึ่งในปัจจุบันได้รับความนิยมจากสาว ๆ เป็นอย่างมาก หากใครที่สนใจอยากจะมีปากบาง สวย ได้รูป แต่ก็คงมีอีกหลายคนซึ่งยังไม่รู้ว่า การมีปากกระจับนั้นมันดีอย่างไร แล้วถ้าอยากจะมีปากกระจับ ต้องรู้อะไรบ้าง ถ้าคุณเป็นหนึ่งในนั้นที่กำลังตั้งคำถามนี้กับตัวเอง ลองมาอ่านบทความนี้กันได้เลย แล้วคุณจะพบกับคำตอบที่คุณต้องการอย่างแน่นอน
ปากกระจับคืออะไร
ปากกระจับ คือการตัดแต่งริมฝีปากด้วยการผ่าตัด เพื่อลดริมฝีปากหนาทั้งฝีปากล่างและฝีปากบน เพื่อให้เข้ารูปกับใบหน้าโดยรูปทรงของปากนั้นจะมีความโค้งสวยคล้ายกับผลกระจับ นอกจากนี้ บางคนยังเชื่อว่าการมีปากกระจับจะเป็นการช่วยเสริมโหงวเฮ้งให้กับใบหน้าอีกด้วย แพทย์จะทำการผ่าตัดให้ริมฝีปากบนทั้งสองด้านมีความโค้งและแหลม มองดูลักษณะคล้ายกับถ้วยทรงคว่ำ และโค้งทั้งสองด้านจะมาบรรจบกันอย่างพอดีตรงกลาง ในขณะที่บริเวณริมฝีปากล่างนั้นจะถูกตัดแต่งเนื้อบางส่วนออกไปให้มีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมเพื่อให้ได้รูปรับกับริมฝีปากบน
ศัลยกรรมปากกระจับเหมาะกับใคร
ไม่ว่าจะผู้หญิงหรือผู้ชายก็ล้วนแล้วอยากมีปากที่สวยได้รูป แต่กับบางคนนั้นการมีริมฝีปากที่หนา ปากใหญ่ก็ได้สร้างปัญหา พาลให้เสียความมั่นใจในตัวเอง ซึ่งการศัลยกรรมปากกระจับนั้นกำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบันที่จะช่วยให้หน้าดูเด็กลง ดูซอฟท์และอ่อนหวานมากขึ้น ดังนั้นคนที่จะเหมาะกับการศัลยกรรมปากกระจับ ได้แก่ ผู้ที่มีริมฝีปากหนา ใหญ่ และห้อยยื่นออกมามากกว่าปกติ, ผู้ที่มีรูปปากไม่สวย ไม่ได้รูป, ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุและมีรอยแผลบริเวณปาก
ขั้นตอนการทำปากกระจับ
การทำปากกระจับ หรือที่บางคนเรียกว่าปากปีกนก ซึ่งใช้เวลาไม่นาน เมื่อทำเสร็จแล้วสามารถกลับบ้านได้เลย โดยขั้นตอนในการทำมีดังนี้
- ก่อนผ่าตัด แพทย์จะทำการวาดเส้นบนริมฝีปากเพื่อทำเครื่องหมายที่จะทำอย่างชัดเจนในรูปปากที่ต้องการ
- แพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะบริเวณส่วนที่จะทำ เพื่อให้ผู้ที่ทำไม่รู้สึกเจ็บแต่จะยังคงรู้สึกตัวดี
- แพทย์จะผ่าตัดเนื้อเยื่อด้านในออกบางส่วน โดยใช้เลเซอร์ตัดส่วนที่เกินออก
- หลังจากนั้น จะทำการเย็บปิดแผลและทำการซ่อนแผลเป็นให้อยู่ภายในเนื้อเยื่ออ่อนด้านในของริมฝีปาก เพื่อที่จะได้มองไม่เห็นแผลเป็นเวลายิ้ม
- โดยทั่วไปแล้ว หลังผ่าตัด แผลจะบวมอยู่ประมาณ 1 อาทิตย์
หลังผ่าตัดทำปากกระจับควรดูแลตัวเองอย่างไร
- ห้ามแปรงฟันในช่วง 1 อาทิตย์แรกหลังผ่าตัด แต่ให้ใช้การบ้วนน้ำบ้วนปากโดยเฉพาะ (Isodine) แทน ทุกครั้งหลังการทานอาหารเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
- นอนหมอนให้สูง เพื่อลดอาการบวม
- หลังยาชาหมดฤทธิ์ หากมีอาการปวด ให้ทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์แนะนำ
- งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่และอาหารรสชาติในช่วง 2 อาทิตย์แรก
- เวลาดื่มน้ำควรใช้หลอดดูด
- พยายามพูดให้น้อยเพื่อลดการขยับปาก ซึ่งแผลอาจจะกระทบกระเทือนได้
- ทานอาหารอ่อนและมีประโยชน์ครบถ้วนทุกหมู่
ปัญหาหลังการทำปากกระจับ
ทุกการศัลยกรรมมีความเสี่ยง แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะได้รับผลกระทบนะคะ แต่อย่างไรเสียก็มีความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น
- อาจจะมีปัญหาปากหุบไม่สนิท
- รูปปากที่ทำออกมาไม่สมมาตรกัน ริมฝีปากบนและล่างไม่เท่ากัน
- ปากเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ และเน่าจากการดูแลหลังการผ่าตัดได้ไม่ดีพอ
- เกิดเป็นแผลคีลอยด์บนริมฝีปาก โดยเฉพาะในผู้ที่สามารถเกิดแผลดังกล่าวได้ง่าย
- ริมฝีปากเป็นไตแข็ง
- รูปปากที่ได้ดูไม่เป็นธรรมชาติ งานไม่เนียน
บริเวณที่ผ่าตัดจะไวต่อการสัมผัส ทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดได้ง่ายเมื่อได้รับความกระทบกระเทือน
ใครบ้างที่ไม่ควรทำปากกระจับ
การจะศัลยกรรมปากกระจับนั้นจะทำได้หรือไม่ อยู่ที่การพิจารณาจากแพทย์เกี่ยวกับลักษณะของริมฝีปากที่มีอยู่แต่เดิม ไม่ว่าจะเป็น ความหนาของปากและปากล่าง ความผิดปกติของเหงือกและปาก รวมไปถึงการเรียงตัวของฟัน ซึ่งแพทย์จะไม่แนะนำให้ทำหากมีอาการดังต่อไปนี้
- คนที่หุบปากได้ไม่สนิท เนื่องจากการทำศัลยกรรมอาจจะส่งผลให้หุบปากได้ไม่สนิทยิ่งกว่าเดิม
- คนที่มีริมฝีปากที่บางมากอยู่แล้ว นั่นหมายความว่าจะไม่สามารถทำการตัดแต่งเนื้อปากเพิ่มขึ้นได้อีก รวมถึงไม่สามารถที่จะเย็บริมฝีปากให้สวยได้รูปได้
- คนที่มีริมฝีปากสองข้างไม่เท่ากัน ซึ่งการศัลยกรรมตกแต่งปากจะยิ่งทำให้ริมฝีปากไม่สมมาตรมากขึ้นกว่าเดิม
- คนที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป แพทย์จะไม่แนะนำให้ทำ เพราะไม่คุ้มค่าที่จะทำ และปากจะมีความหย่อนคล้อยลงไปตามธรรมชาติเมื่ออายุมากขึ้น
- คนที่มีรูปปากคว่ำ มุมปากตก ปัญหาดังกล่าวนี้ไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการผ่าตัดศัลยกรรม
- คนที่มีปัญหายิ้มแล้วเห็นเหงือก เมื่อทำการศัลยกรรมจะมีการเฉือนเอาเนื้อบริเวณริมฝีปากออกให้บางขึ้น แน่นอนว่ายิ่งริมฝีปากบาง ก็ยิ่งเห็นเหงือกได้ชัดเจนขึ้นเมื่อยิ้ม
อย่างไรก็ตาม หากใครที่มีปากหนาและสนใจที่อยากจะมีปากกระจับ บาง สวยได้รูปแล้วล่ะก็ อย่าลืมขอคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดสินใจที่จะทำกันนะคะ จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจและเสียเงินแก้ซ้ำในภายหลัง