bmi คืออะไร คือค่าดัชนีมวลกาย ที่คุณสามารถคิดคำนวณได้เองจากน้ำหนักหรือส่วนสูง โดยใช้การชั่งน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงเป็นหน่วยเซนติเมตร สำหรับการหาค่า BMI เป็นการหาค่าที่นิยมใช้เพื่อหาปริมาณไขมันส่วนเกินที่ร่างกายเก็บสะสม และใช้บ่งว่าเราอ้วนหรือผอม หรือมีภาวะเสี่ยงต่อโรคหรือไม่นั่นเอง เป็นการประเมินความเสี่ยงพื้นฐาน โดยค่านี้จะสามารถวัดได้ในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 เป็นต้นไป และเป็นค่าที่ค่อนข้างเชื่อถือได้
การวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI มีความสำคัญอย่างไร
การวัดค่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI มีความสำคัญดังนี้
- เพื่อดูอัตราการเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ทั้งในผู้ที่อ้วนเกินไปและผอมเกินไป
- เพื่อบ่งบอกได้ว่าเราอยู่ในเกณฑ์ปกติ อ้วนไป หรือผอมไป ซึ่งค่า BMI ปกติ เป็นสิ่งที่เราต้องรักษาไว้ในการดูแลสุขภาพ
- เพื่อการประเมินสุขภาพร่างกายของตนเองในขั้นพื้นฐาน
วิธีคำนวณค่า BMI ทำได้อย่างไรบ้าง
เมื่อเราได้ทราบแล้วว่าดัชนีมวลกาย หรือ BMI คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ก็มาถึงวิธีคำนวณค่า BMI ซึ่งเราสามารถทำได้ใน 2 วิธี คือ
1. ใช้เครื่องมือที่มีอยู่
ในปัจจุบันนี้ มีเว็บไซต์ หรือเพจมากมายที่คุณสามารถเข้าไปกรอกข้อมูล คือ ส่วนสูงและน้ำหนักของคุณเพื่อทำการคำนวณอัตโนมัติได้ โดยในหน้าที่มีการให้คำนวณค่า BMI ก็จะมีเกณฑ์ BMI บอกให้คุณได้ทราบด้วยว่าคุณอยู่ในเกณฑ์ใด รวมไปถึงอาจมีคำแนะนำในการดูแลสุขภาพเพิ่มเติมให้กับคุณด้วย
2. ใช้การคำนวณด้วยตนเอง
หากคุณไม่ต้องการใช้เครื่องมือที่มีอยู่ หรือต้องการที่จะคำนวณด้วยตนเอง ก็สามารถทำได้โดยเอาน้ำหนักหารด้วยความสูงยกกำลังสอง
Body Mass Index (BMI) มีสูตรการคำนวณแบบเมตริกซ์ (Metric BMI Formula) = น้ำหนักตัว [Kg] / (ส่วนสูง [m] ยกกำลังสอง) ตัวอย่างเช่น น้ำหนัก 55 กิโลกรัม ส่วนสูง 155 เซนติเมตร (1.5 เมตร) จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 24.44
นอกจากนี้ยังมีสูตรคำนวณดัชนีมวลกายแบบอังกฤษ (English BMI Formula) ด้วย สูตรคำนวณคือ น้ำหนัก (ปอนด์) / [ส่วนสูง (นิ้ว)] ยกกำลังสอง x 703 ตัวอย่างเช่น น้ำหนัก 150 ปอนด์ ส่วนสูง 5 ฟุต 5 นิ้ว (65 นิ้ว) จะได้ผลลัพธ์ที่ 24.96
ค่าตัวเลขดัชนีมวลกายจะเหมือนกันทั้งชายและหญิง แต่อย่าลืมว่าสูตรคำนวณ หรือวิธีหาค่า BMI นั้นเหมาะสำหรับใช้ประเมินผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป สำหรับเด็กจะใช้สูตรที่แตกต่างจากผู้ใหญ่ สูตรคำนวณดัชนีมวลกาย BMI สำหรับเด็กจะเริ่มตั้งแต่อายุ 2-19 ปี และของผู้ใหญ่ตั้งแต่อายุ 20 ปีขึ้นไป
เกณฑ์ค่าดัชนีมวลกาย BMI มีเกณฑ์ไหนบ้าง
ต้องบอกก่อนว่าเกณฑ์ในการประเมินดัชนีมวลกายนั้นอาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อยในแต่ละแห่ง แต่ละสำนัก แต่ก็มีความใกล้เคียงกัน ซึ่งโดยทั่วไป เกณฑ์ดัชนีมวลกายสามารถแบ่งและประเมินได้ดังนี้
- 40 ขึ้นไป คุณเป็นโรคอ้วนขั้นสูงสุด เสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรงที่แฝงมากับความอ้วน
- 35 ขึ้นไป คุณเป็นโรคอ้วนระดับ 2 และเสี่ยงต่อโรคที่มากับความอ้วน
- 30 ขึ้นไป คุณเป็นโรคอ้วนระดับ 1 หากคุณมีเส้นรอบเอวมากกว่า 90 ซม.ในผู้ชาย และ 80 ซม.ในผู้หญิง คุณจะมีโอกาสเกิดโรคความดัน เบาหวานสูงได้
- 25 ขึ้นไป คุณอยู่ในเกณฑ์ที่เริ่มอ้วน และอาจมีแนวโน้มอ้วนขึ้นเรื่อย ๆ ได้
- 23 ขึ้นไป คุณอยู่ในเกณฑ์ที่เสี่ยงต่อความอ้วน และต้องควบคุมน้ำหนักให้เข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน
- 18.6 ขึ้นไป คุณอยู่ในเกณฑ์ที่มีน้ำหนักเหมาะสม โดยน้ำหนักที่เหมาะสมสำหรับคนไทยคือค่า BMI ระหว่าง 18.5-22.9 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคน้อยที่สุด ควรรักษาให้ค่า BMI ปกติให้นานที่สุด
- น้อยกว่า 18.5 คุณมีน้ำหนักน้อยเกินไป อาจเสี่ยงต่อการได้รับสารอาหารไม่เพียงพอหรือได้รับพลังงานไม่เพียงพอ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียง่าย
ข้อควรคำนึงถึงในการวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI
ดัชนีมวลกาย BMI ที่เราได้ ไม่ได้หมายความว่าเรามีน้ำหนักเหมาะสม ผอมเกินไป หรือ้วนเกินไปอย่างชัดเจน เพราะการวัดค่าดัชนีมวลกาย BMI มีความจำกัดหรือข้อควรคำนึงถึงอยู่บางประการ โดยขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และความสามารถทางกีฬาด้วย ดังนี้
- ผู้หญิงมักมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าผู้ชาย เกณฑ์จึงอาจใช้ไม่ได้ทั้งหมด
- คนที่มีอายุมากกว่ามีแนวโน้มที่จะมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่าคนที่อายุน้อยกว่า
- นักกีฬาที่ฝึกฝนมาอย่างดีหรือเป็นนักกีฬาสมัครเล่น มักมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่า และน้ำหนักตัวมากกว่า ทำให้มีดัชนีมวลกายสูง แม้จะมีไขมันน้อย
- ดัชนีมวลกาย BMI แม้ว่ายังไม่มีการรับรองถึงความแม่นยำได้อย่างชัดเจน เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็เป็นค่าที่สำคัญต่อการดูแลสุขภาพในเบื้องต้นที่เราควรทราบ และมีวิธีคำนวณค่า BMI ที่ง่ายดาย
หากคุณต้องการเริ่มต้นดูแลสุขภาพ การคำนวณค่า BMI ก็สามารถช่วยให้คุณทราบถึงภาวะที่เหมาะสมของร่างกายได้ว่าคุณผอม อ้วน หรือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ เพื่อให้วางแผนในการควบคุมน้ำหนักต่อไป ซึ่งหากอยากดูแลสุขภาพและควบคุมน้ำหนักให้ดีที่สุด ก็ควรที่จะทราบค่าต่าง ๆ เพิ่มด้วย โดยใช้ตัวช่วยดี ๆ อย่าง เครื่องชั่งน้ำหนัก วัดไขมัน