ผ่าตัดไฝ เพื่อเพิ่มความมั่นใจ

ผ่าตัดไฝ

ผ่าตัดไฝ (Nevus) คือเนื้องอกชนิดหนึ่งของผิวหนัง ภาวะหนึ่งของร่างกายที่บริเวณนั้น ๆ มีการรวมกลุ่มกันของเซลล์สร้างเม็ดสีหรือเซลล์ไฝเกิดจากการเพิ่มจำนวนของเซลล์สร้างเม็ดสี (Melanocyte) และเซลล์ไฝ (Nevus Cell) พบได้ตั้งแต่เด็กแรกเกิด หรืออาจขึ้นเมื่อโตแล้วก็ได้ พบได้ทั้งสองเพศใกล้เคียงกัน อุบัติการณ์ในการเกิดประมาณ 1 : 1000 รายของประชากรทั่วไป และพบได้บ่อยมากขึ้นในคนผิวขาว

ไฝแบ่งตามชนิดที่เป็นได้กี่ประเภทอะไรบ้าง

ไฝแบ่งตามชนิดที่เป็นได้ 2 ประเภ

  1. ไฝตั้งแต่แรกเกิด มักมีขนาดโตตั้งแต่ 5 มิลลิเมตรขึ้นไป เป็นก้อนนูน อาจมีขนขึ้นบริเวณไฝด้วย
  2. ไฝที่เกิดขึ้นภายหลัง มักเป็นบริเวณที่โดนแสงแดด มักมีขนาดเล็ก เรียบ ถ้าเป็นไฝที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร ผิวเรียบและไม่มีการเปลี่ยนแปลง จะเรียกว่า ขี้แมลงวัน ถ้าไฝมีลักษณะนูน โตเร็ว แตกเป็นแผล ควรมาพบแพทย์

 ไฝบางประเภทอาจกลายเป็นมะเร็งของผิวหนังได้  สาเหตุที่แน่นอนยังไม่ทราบแน่ชัด ส่วนใหญ่มักเกิดจากการที่ผิวหนังถูกกับสิ่งกระตุ้นเป็นเวลานาน ๆ เช่นถูกแสงแดดจัด ๆ ติดต่อกันเป็นเวลานานหลายปี ถูกถูไถจนเป็นแผลเป็นเวลานาน หรือ ถูกสารเคมี เป็นต้น

ลักษณะของไฝที่เจอแล้วต้องเฝ้าระวังคืออะไรบ้าง

  1. Asymmetry       เมื่อแบ่งครึ่งจะไม่สมมาตร ครึ่งหนึ่งของไฝจะแตกต่างจากอีกด้านหนึ่ง
  2. Border             ขอบเขตของไฝไม่สม่ำเสมอ ขอบเขตไม่ชัดเจน
  3. Color                มีหลากหลายสีหรือสีไม่สม่ำเสมอ
  4. Diameter          ขนาดใหญ่กว่า 6 มิลลิเมตร
  5. Evolving            ไฝที่มีการเปลี่ยนแปลงของสี รูปร่าง ขนาด โตเร็วผิดปกติ หรือ มีเลือดออก

ขั้นตอนการ ผ่าตัดไฝ (Nevus) ทำยังไง

การผ่าตัดไฝ (Excision) มีขั้นตอนในการทำดังนี้

  1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยว่าไฝที่เกิดขึ้น เป็นไฝทั่วไป หรือมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งไฝมากน้อยแค่ไหน
  2. อธิบายขั้นตอนการผ่าตัดให้ผู้ป่วยรับทราบ และเซ็นยินยอมเข้ารับการผ่าตัด
  3. เริ่มทำการผ่าตัด โดยทายาฆ่าเชื้อบริเวณผิวหนังที่จะผ่าตัดและผิวหนังโดยรอบ ปูผ้าเจาะกลางสเตอร์ไรด์บริเวณไฝ ทีจะทำการผ่าตัด
  4. ฉีดยาชาเข้าบริเวณผิวหนังที่จะผ่าตัด คือ บริเวณไฝและผิวหนังโดยรอบ จากนั้นรอให้ยาชาออกฤทธิ์
  5. ใช้มีดผ่าตัดสเตอร์ไรด์ ทำการผ่าตัดไฝ โดยการตัดลงไปลึกจนถึงที่ชั้นรากของไฝ จากนั้นทำการผ่าตัดเพื่อเอาไฝเม็ดนั้นออกทั้งหมด
  6. เช็คแผลผ่าตัดว่าเอาไฝออกหมดแล้วหรือยัง และทำการซับเลือดบริเวณแผลผ่าตัด
  7. ทำการเย็บแผลผ่าตัด เพื่อให้ผิวหนังที่ผ่าตัดไปแล้วนั้นติดเข้าหากันดี
  8. ปิดแผลผ่าตัดด้วยผ้าก๊อซสเตอร์ไรด์ แล้วปิดทับด้วยพลาสเตอร์หรือฟิล์มใสกันน้ำ

ถ้าไฝที่ผ่าตัดมีความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง แพทย์จะทำการส่งชิ้นเนื้อไฝที่ผ่าตัดได้ ไปตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยแพทย์เฉพาะทางด้านชิ้นเนื้อผิวหนัง เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งไฝหรือมะเร็งผิวหนังหรือไม่

การดูแลแผลหลังผ่าตัดไฝ

  1. หลังผ่าตัด จะยังมีอาการชาบริเวณแผลผ่าตัดได้ เนื่องจากแพทย์ได้ทำการฉีดยาชาเข้าไป ก่อนทำการผ่าตัด อาการชาเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไป ในเวลา 1-2 ชั่วโมงหลังผ่าตัดเสร็จ
  2. หลังผ่าตัดไฝ แพทย์จะทำการเย็บแผลผ่าตัด และใช้ผ้าก๊อซเพื่อห้ามเลือด อาจจะพบเลือดซึมออกมาที่ก๊อซได้บ้าง ถ้ามีเลือดซึมออกมามาก หรือเลือดไม่หยุดไหล ให้รีบกลับมาพบแพทย์
  3. ถ้ามีอาการปวดแผลบริเวณที่ผ่าตัด สามารถรับประทานยาแก้ปวดพาราเซตามอล 500 มก. 1 เม็ด ได้ทุก 4-6 ชั่วโมง แต่ควรหลีกเลี่ยงการทานยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน
  4. สามารถอาบน้ำหรือโดนน้ำได้ ถ้าแผลปิดด้วยฟิล์มใสกันน้ำ ส่วนในกรณีที่ไม่ได้ปิดแผลด้วยฟิล์มกันน้ำ แนะนำให้หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ เพราะอาจเกิดการติดเชื้อที่แผลผ่าตัดได้
  5. ให้ทำการล้างแผลผ่าตัดเป็นประจำทุกวันที่คลินิกที่ทำการผ่าตัด หรือโรงพยาบาลใกล้บ้าน
  6. รับประทานยาฆ่าเชื้อตามแพทย์สั่ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด
  7. มาพบแพทย์ตามนัดเพื่อทำการดูแผลหรือตัดไหม โดยทั่วไปจะนัดที่ 7-14 วัน
  8. ถ้ามีไข้ หรือปวด บวม แดง มีหนองซึมที่แผลผ่าตัด ให้รีบกลับมาพบแพทย์ก่อนนั